ทำปริ้นด้วยโบรชัวด์ โดยวิธี Toner Transfer

 การทำปริ้นที่ต้นทุนต่ำอีกวิธีหนึ่งคือการทำปริ้นโดยใช้โบรชัวด์สินค้าที่เรามักได้รับเมื่อมีการจัดงานแสดงต่าง ๆ จากการทดลองทำปริ้นจากการใช้โบรชัวด์ทำปริ้นจะง่ายกว่าการใช้กระดาษโฟโต้ทำ  เนื่องจากกระดาษโฟโต้มีเยื่อเหนียว ๆ เพื่อให้หมึกติดกับกระดาษง่าย แต่โบรชัวสินค้าไม่มีดังนั้นเมื่อถึงขั้นตอนแช่น้ำให้กระดาษยุ่ยจึงง่ายกว่า

 

วัสดุที่ใช้
1. โบรชัวด์ (ขนาด A4 หรือใกล้เคียงเพื่อให้เข้าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ได้พอดี)
2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
3. เตารีดแบบพื้นเรียบ (ไม่ใช่แบบไอน้ำ)
4. ภาชนะใส่น้ำ
5. กรดกัดปริ้น
6. ทินเนอร์
7. กระดาษชำระ

เริ่มกันเลย....


ขั้นตอนที่ 1
โบรชัวด์มากมายจากงานแสดงต่างๆ  
 

หรือใช้กระดาษ 7 catalogก็สามารถใช้ได้ (ซื้อได้ที่ 7-11 ราคาเล่มละ 10 บาท ใช่ได้หลายแผ่น)

เตรียมโบรชัวด์โดยตัดให้เป็นแผ่นเดียว (ใช้ได้เฉพาะโบรชัวด์ที่มีลักษณะเป็นมันและหนาพอประมาณ)


ขั้นตอนที่ 2
ใส่แทนกระดาษเพื่อพิมพ์ด้วยเลเซอร์


สั่งพิมพ์จากโปรแกรมออกแบบลาย
(ขั้นตอนเช่นเดียวกับบทความ "ทำปริ้นด้วยกระดาษโฟโต้โดยวิธี TonerTransfer")


 

 

ขั้นตอนที่ 3
ตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการนำไปใช้งาน


ขั้นตอนที่ 4
ตัดแผ่นปริ้นให้ได้ขนาด นำขัดด้วยฝอยหรือสก๊อตไบท์กับน้ำ (ใช้น้ำยาล้างจานช่วยด้วย)


ขัดให้ใสกิ๊กเลยนะ...เช็ดให้แห้ง




วางปริ้นคว่ำลงบนแบบจัดให้ตรง

 


ขั้นตอนที่ 6
ติดเทปกาวกันขยับ(ควรใช้แบบที่เป็นกระดาษเพื่อป้องกันเทปละลาย)

คว่ำลงแล้วติดเทปกับพื้นเพื่อกันขยับขณะรีด


ขั้นตอนที่ 7
เตรียมเตารีดโดยตั้งไฟค่อนข้างร้อนมาก


วางทับโดยกดลงเฉยๆ (ใช้แรงกดนิดมากหน่อย) ใช้เวลาประมาณ 30 วินาที


หลังจากนั้นตะแคงโดยใช้ขอบเตาด้านหน้ารีดกระจายไปทั่วๆแผ่น ใช้เวลาประมาณ 1.30 นาที



รีดแบบปกติ (วางเตาแนบกับแบบ) รีดกระจายโดยใช้พิ้นที่ด้านหน้าเตารีดเป็นส่วนที่ใช้รีด ใช้เวลาในจังหวะนี้ประมาณ 1.30 นาที

 

ขั้นตอนที่ 8
นำไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที


ลอกกระดาษออก


ใช้นิ้วถูจนเยื่อกระดาษออกหมด


จะได้


 

ขั้นตอนที่ 9
เตรียมเข็มหรือของแหลมเพื่อแต่รู PAD


สะกิตรู PAD ให้เยื่อกระดาษหลุดออก


ขั้นตอนที่ 10
นำไปกัดด้วยน้ำยากัดปริ้น


 

ขั้นตอนที่ 11
เช็ดด้วยทินเนอร์จนหมึกออกหมด
(คำเตือน หากใช้ปริ้นอีพร๊อกซีใสเวลาล้างหมึกด้วยทินเนอร์ต้องใช้ทินเนอร์จำนวนมาหน่อยโดยใช้กระดาษเปียกชุ่ม หรืออาจใช้วิธีแช่เลย มิฉะนั้นตัวพื้นอีพร๊อกซีจะหมองจากการละลายของหมึก)




เสร็จสิ้นซะที....ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที

โปรดติดตามบทความของครูประภาสได้ใหม่ในตอนถัดไป
ขอบคุณครับ