บทความประกอบการเรียนรู้ => ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ มิถุนายน 17, 2022, 02:18:33 PM
-
การใช้งานโปรแกรมออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วย EasyEDA [ออกแบบลายวงจรพิมพ์ครั้งที่ 1 (FullWaveReg.)]
EasyEDA เป็นเครื่องมือสำหรับงานด้าน Electronic Design Automation (EDA) ที่ใช้ออกแบบวงจรพิมพ์ PCB (สามารถจำลองวงจรได้ด้วย แต่งานที่โดดเด่นกว่าคือออกแบบลายวงจรพิมพ์) EasyEDA ทำงานแบบออนไลน์ นั่นก็หมายความว่าขณะที่ออกแบบนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมผ่านทางโปรแกรมเปิดดูเวปเช่น google chrome, Microsoft Edge หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้เปิดเวป และยังสามารถดาวน์โหลดตัวโปรแกรมใช้งานมาติดตั้งบนเครื่องเพื่อทำงานได้เช่นกัน
การใช้งาน โปรแกรม EasyEDA ดำเนินการดังนี้
1. เข้าเวปไซต์ https://easyeda.com (https://easyeda.com) จะปรากฏดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/1.png)
2. สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัครใช้งาน ให้ดำเนินการสมัครโดยคลิกที่ Register
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/2.png)
3. เริ่มเข้าใช้งานโดยคลิกที่ EasyEDA Designer
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/3.png)
4. คลิกที่ Std Edition (สำหรับการใช้งานฟรี)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/4.png)
5. หน้าตาโปรแกรมที่ใช้งานผ่านโปรแกรมเปิดเวปไซต์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/5.png)
6. กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการโปรแกรมทำงานที่ไม่ใช่โปรแกรมเปิดดูเวป สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้โดยคลิกที่ Desktop Client
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/6.png)
7. เปิดโปรแกรมมาจะมีหน้าตาเดียวกันกับตอนเปิดจากโปรแกรมเปิดเวป
-เริ่มการใช้งานโดยการสร้างโปรเจคงานใหม่ คลิกที่ New Project หรือคลิกที่เมนู File แล้วเลือก New Project
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/7.png)
8. ตั้งชื่อโปรเจคงานในช่อง Title:
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/8.png)
9. ตัวโปรแกรมจะสร้างไฟล์เอกสารสำหรับวาดวงจรดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/9.png)
10. อุปกรณ์สำหรับวาดวงจรโปรแกรมจัดให้มีอุปกรณ์พื้นฐานที่มักใช้บ่อยสามารถคลิกได้ที่เมนูด้านข้างชื่อ Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/10.png)
11. แต่ละตัวโปรแกรมมีให้เลือกใช้หลากหลายตัวถัง ซึ่งสามารถคลิกเลือกใช้งานให้ตรงกับความต้องการได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/11.png)
12. กรณีที่หาใน Commonly Library แล้วไม่มีสามารถคลิกที่ปุ่ม Library เพื่อค้นหาเพิ่มเติมได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/12.png)
13. ตัวอย่างงานครั้งนี้เป็นวงจรเรียงกระแสแบบรรักษาระดับแรงดันด้วยไอซี ขนาดตัวถังระยะห่างของตำแหน่งขาอุปกรณ์ (Foot Print) แต่ละตัวผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าจะใช้ตัวถังขนาดเท่าใดซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลจากเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์หรือดูจากดาต้าชีพ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/13.png)
14. เทอร์มินอลสำหรับต่อสายเข้าและออกวงจรเลือกใช้แบบ 2 ขา มีระยะห่างระหว่างจุดต่อ 5.00 mm
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=000500667 (https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=000500667)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/14.png)
15. ไดโอดเลือกใช้ 1N4007 เนื่องจากมีขนาดเดียวกับ 1N4001 ของวงจร
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=002901662 (https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=002901662)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/15.png)
16. ตัวเก็บประจุ 2200uF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=082500181 (https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=082500181)
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง Diameter=13mm
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/16.png)
17. ตัวเก็บประจุ 100nF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=019800338 (https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=019800338)
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ตัวถังกว้าง Width=2.5mm ยาว Length=7.2mm
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/17.png)
18. ไอซี L7812
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=008304969 (https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=008304969)
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) หารายการที่มีคำว่า L7812 หากไม่เจอให้ดูเบอร์ใกล้เคียงที่มีรายละเอียดของตัวถังตามต้องการคือ TO-220-3
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/18.png)
19. เมื่อวางครบจะเป็นดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/19.png)
20. คลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB ดังรูป เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวถัง
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/20.png)
21. คลิก Apply
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/21.png)
22. ตรวจสอบความถูกต้องของระยะห่างของขาอุปกรณ์แต่ละตัวและขนาดของตัวถัง หากต้องการดูว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีโมเดล 3 มิติหรือไม่ให้คลิกที่ 3D
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/22.png)
23. ผลที่ได้ (กรณีอุปกรณ์ตัวใดไม่มีโมเดล 3 มิติสามารถเลือกอุปกรณ์ตัวใหม่ หรือค้นหาโมเดล 3 มิติตัวอื่นมาวางทับได้)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/23.png)
24. กรณีที่ต้องการเอาอุปกรณ์แต่ละตัวมาเก็บไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานครั้งถัดไปโดยไม่ต้องไปค้นหาอีกสามาถทำได้โดยการ Clone ดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/24.png)
25. ตั้งชื่ออุปกรณ์ที่ Clone มา เพื่อให้แสดงในรายการของตนเอง (My Libraries)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/25.png)
26. เมื่อดูในไลบรารี่ของผู้ใช้งานจะเห็นรายการอุปกรณ์ที่ทำการ Clone เก็บเข้ามา
(1) คลิกที่ี Work Space
(2) คลิกที่ My Libraries->All จะเห็นรายการอุปกรณ์ (3)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/26.png)
27. ดำเนินการต่อวงจร
- ย้ายไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม
- เพิ่มอุปกรณ์ให้ครบ สามารถใช้การคัดลอกและวางอุปกรณ์ที่เหมือนกันที่เคยวางมาก่อนหน้านี้แล้ว
- วางกราวด์ เลือกจากปุ่มกราวด์ (1)
- ลากสายเชื่อมต่อวงจร เริ่มจากคลิกที่เครื่องมือเชื่อมต่อสายแล้วคลิกที่ขาอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน (2)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/27.png)
28. เมื่อต่อวงจรเสร็จ ให้ทำการบันทึกไฟล์ (SAVE) แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/28.png)
29. จะได้ไฟล์ที่มีอุปกรณ์ที่แสดงเป็นรูปตัวถัง (Foot Print) พร้อมสาย Net ที่แสดงว่าขาแต่ละอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อตัวไหนบ้าง
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/29.png)
30. ตั้งค่าหน่วยการแสดงผลและค่ากริดดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/30.png)
31. ดำเนินการดังนี้
- ทำการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม (ที่คิดว่าการเดินลายทองแดงไม่ยาก)
- วางรูยึด PCB
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/31.png)
32. แก้ไขขนาดของรูยึด PCB
(1) แก้หน่วยวัดเป็น mm เนื่องจากรูยึด PCB จะมีขนาดรู 3.2 mm เพื่อใช้กับสกรู M3
(2) คลิกที่รูยึด PCB ที่ได้วางไว้
(3) แก้ไขรูยึด Hole(D) =3.2mm ดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/32.png)
33. ตั้งกฎการออกแบบ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/33.png)
34. ตั้งขนาดเส้นลายทองแดง 25mil และระยะชิดที่ 15mil (ต้องตั้งหน่วยวัดเป็น mil ก่อนดำเนินการ)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/34.png)
35. สั่งงานให้ออกแบบเดินลายอัตโนมัติ Auto Route...
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/35.png)
36. แก้ไขให้ออกแบบลายเดินลายเฉพาะลายปริ้นด้านล่างเท่านั้น (กรณีที่ต้องการเฉพาะด้านล่าง)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/36.png)
37. ผลที่ได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/37.png)
38. สามารถแก้ไขลายหากเดินลายอัตโนมัติไม่สวยงาม โดยลบเส้นลายเดิมออกแล้วเดินเส้นใหม่แทน ใช้เครื่องมือเดินเส้นลายทองแดงดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/38.png)
39. สามารถปิดการมองเห็นเลเยอร์แสดงตัวถังด้านบนเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ พร้อมตั้งค่ากริดและขนาดลายทองแดงให้เหมาะสมกับการเดินลายด้วยมือ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/39.png)
40. ผลของการปรับแต่ง
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/40.png)
41. ถมลายให้มีขนาดลายทองแดงใหญ่ขึ้นในส่วนที่มีการแสไหลปริมาณมาก โดยใช้เครื่องมือเดินพื้นทึบ Solid Region แล้วเดินรอบเส้นที่ต้องการถมให้ใหญ่ขึ้น
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/41.png)
42. ใส่ข้อความกำกับลงบนลายทองแดง
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/42.png)
43. ผลที่ได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/43.png)
44. ทดลองแสดงผล 3 มิติ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/44.png)
45. สร้างไฟล์ pdf เพื่อนำไปผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ต่อไป มีขั้นตอนดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/45.png)
46. เลือกเลเยอร์ที่เป็นลายทองแดงดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/lab1/46.png)
47. ผลของไฟล์ pdf พร้อมนำไปใช้งาน
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/47.png)
กรณีที่ต้องารส่งไฟล์เข้าโรงงานผลิต (Gerber)
48. ทดสอบการแสดงผลของแผ่น PCB เมื่อส่งโรงงานว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ คลิกที่ 2D
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/48.png)
49. ผลที่ได้ หากต้องการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ดำเนินการ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/49.png)
50. สามารถทดสอบการเปลี่ยนสี PCB ว่าสีใดเหมาะสมก่อนสั่งผลิต
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/50.png)
51. คลิกเมนูเพื่อสร้างไฟล์ Gerber ดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/51.png)
52. ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะให้บันทึกไฟล์ Gerber เป็นไฟล์ zip ลงเครื่องหรือจะสั่งผลิตในเวปไซต์ที่ระบุ
- ให้ผู้ใช้เลือกที่บันทึกลงไดร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในโฟลเดอร์ที่เตรียมไว้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/52.png)
53. หาเวปไซต์ทดสอบไฟล์ Gerber
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/53.png)
54. ส่งไฟล์ Gerber ที่บันทึกไว้ไปยังเวปไซต์แล้วดูผล (หากเกิดข้อผิดพลาดให้กลับไปแก้ไขในโปรแกรมออกแบบ)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/lab1/54.png)
55. คลิกดูลายวงจรด้านล่างว่าตรงตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep1/55.png)
-
.....