บทความประกอบการเรียนรู้ => ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ กรกฎาคม 01, 2022, 03:27:18 PM
-
การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งาน EasyEDA ในการออกแบบ PCB อีกครั้ง หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 25, 26 ,27
ตอนที่ 1 เริ่มต้นใช้งาน https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0)
ตอนที่ 2 Footprint https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0)
ตอนที่ 3 การค้นหาอุปกรณ์ https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0 (https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0)
โจทย์การออกแบบ
- ออกแบบลายวงจรพิมพ์วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบที่ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขับ LED โดยให้มีขนาดของแผ่นลายวงจรพิมพ์ไม่เกิน 1.5 ตารางนิ้ว ตัวอย่างการคำนวณพื้นที่เป็นดังนี้
* ขนาด 1000x1000mil = 1 ตารางนี้ว
* ขนาด 1100x1100mil = 1.21 ตารางนี้ว
* ขนาด 1200x1200mil = 1.44 ตารางนี้ว
* ขนาด 1000x1500mil = 1.5 ตารางนี้ว
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/23.png)
1. โจทย์การออกแบบในครั้งนี้เป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ดังรูป
วงจรประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
- ตัวต้านทานขนาด 1/4W
- ตัวเก็บประจุที่มีค่าเท่ากับ 100uF 16V เมื่อทำการตรวจสอบจากเวปไซต์ขายอะไหล่พบว่าตัวเก็บประจุค่านี้มีขนาดระยะขา 2.5mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
- LED มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3mm
- ทรานซิสเตอร์เบอร์ BC547
- ขั้วต่อไฟเลี้ยงใช้เป็นจุดต่อสายแทนการใช้ Terminal Block
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/1.png)
2. คลิก New Project เพื่อสร้างโปรเจคไฟล์ใหม่
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/2.png)
3. ตั้งชื่อโปรเจคไฟล์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/3.png)
ขั้นตอนการหาอุปกรณ์
4. เลือกตัวต้านทานขนาด AXIAL-0.4 เนื่องจากใช้ตัวต้านทานขนาด 1/4w
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/4.png)
5. ผู้ออกแบบสามารถค้นหา LED จากเมนู Library ก็ได้ หรือจะใช้อุปกรณ์ที่โปรแกรมมีมาให้โดยเลือกที่เมนู Commonly Library (ตัวอย่างการออกแบบ EasyEDA ตอนที่ 4)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/5.png)
6. ค้นหาทรานซิสเตอร์ BC547 โดยดำเนินการดังรูป (สามารถเลือกรายการที่ Out of Stock ได้หากผู้ออกแบบทำการจัดหาทรานซิสเตอร์จากแหล่งอื่นในการประกอบวงจร)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/6.png)
7. การค้นหาอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บประจุทำได้ดังรูป ให้คลิกรายการฟิลเตอร์ตามค่าตัวเก็นประจุที่ต้องการ เช่น 100uF 16v ระยะขา 2.5mm เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/7.png)
8. ค้นหาจุดต่อที่เป็น WirePAD ดำเนินการดังรูป (เนื่องจากจุดต่อไม่ใช่อุปกรณ์จึงค้นหาจากเวปขายอุปกรณ์ไม่เจอ แต่มีผู้ออกแบบแชร์ให้ใช้งานโดยต้องคลิกที่ User Contributed)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/8.png)
9. กรณีที่ไม่ต้องการค้นหาตัวเก็นประจุจากเวปจำหน่าย สามารถเลือกใช้จากรายการอุปกรณ์ที่โปรแกรมมีให้ใช้งานโดยเลือกที่เมนู Commonly Library
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/9.png)
10. วางอุปกรณ์ครบทุกตัว
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/10.png)
11. ในงานครั้งนี้ตัวทรานซิสเตอร์จะต้องกลับด้าน สามารถทำได้ดังรูป (คลิกที่ตัวทรานซิสเตอร์ก่อน)
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/11.png)
12. แก้ไขชื่อจุดต่อไฟเลี้ยงทำได้โดยการดับเบิลคลิกแล้วพิมพ์ชื่อใหม่
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/12.png)
13. แก้ไขชื่อจุดต่อกราวด์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/13.png)
14. ลายสายไฟเชื่อมต่อวงจรจนครบสมบูรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/14.png)
15. ทำการบันทึกไฟล์ แล้วคลิกปุ่มเพื่อสร้างไฟล์ PCB ดังรูป
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/15.png)
16. ผลไฟล์ PCB ที่ได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/16.png)
17. หากต้องการดูผลที่เป็น 3D สามารุทดสอบดูได้ว่าอุปกรณ์มีตัวใดที่ไม่มีโมเดล 3D หากผู้ใช้งานต้องการอุปกรณ์ที่มีโมเดล 3D สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีคือ
- ค้นหาอุปกรณ์ตัวใหม่เบอร์เดิมที่มีโมเดล 3D
- แก้ไขตัวอุปกรณ์ในหน้าต่าง PCB โดยคลิกที่รายการ 3D เพื่อค้นหาโมเดล 3D ที่เข้ากันได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/17.png)
18. กำหนดขนาดเริ่มต้นการออกแบบ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/18.png)
19. ปรับขนาดขอบ PCB ให้ได้ตามโจทย์กำหนด
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/19.png)
20. วางรูยึด PCB พร้อมแก้ไขขนาดรูให้ได้ 3.2mm เพื่อให้สามารถใช้สกรู M3 ในการยึด PCB ได้
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/20.png)
21. ลากอุปกรณ์แต่ละตัววางในขอบเขตของ PCB ให้เหมาะสมตามต้องการ แล้วเดินลายทองแดงให้ครบ
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/21.png)
22. คลิกที่ 2D เพื่อดูผลหากสั่งผลิต PCB จะเป็นลักษณะใด
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/22.png)
23. คลิกที่ 3D เพื่อดูผลแบบ 3 มิติ เพื่อดูความเหมาะสมในการจัดวางอุปกรณ์
(http://www.praphas.com/PhotoForum/EasyEDA/Ep5/23.png)