กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
เทคนิคการอินเตอร์เฟส Visual C#
»
เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment] (อ่าน 5149 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment]
«
เมื่อ:
กันยายน 20, 2018, 03:15:21 PM »
โปรแกรมที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์หากแสดงผลที่สวยงามจะสร้างความสนใจแก่ผู้ใช้งานมากขึ้น สำหรับการแสดงผลที่เป็นตัวเลขในเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไปมักจะพบเห็นการใช้ LED ที่เป็น 7 Segment มาใช้งาน หากสร้างโปรแกรมควบคุมงานที่ใช้การแสดงผลที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันจะทำให้โปรแกรมดูดีขึ้น แต่เนื่องจากโปรแกรม Visual Studio (C#) ไม่มีส่วนที่แสดงผลแบบ LED ตัวเลขได้จึงจำเป็นต้องติดตั้งไดร์เวอร์เพิ่มเติม
ตัวอย่างที่ได้
มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างโปรเจคงาน
2. ดาวน์โหลดไดร์เวอร์แสดงผล LED 7 Segment ที่
https://github.com/dbrant/SevenSegment
3. ทำการแตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา ทำการคัดลอกไฟล์ .DLL ที่อยู่ในโฟลเดอร์
...\SevenSegment-master\SevenSegment\bin\Release
4. นำไฟล์ที่คัดลอกวางในโฟลเดอร์โปรเจคในโฟลเดอร์ \bin\Debug
5. เพิ่มแทปใน Toolbox ดังรูป (ตั้งชื่อแทปตามต้องการ)
6. เลือกคอนโทรลคอมโพแนนต์ลงในแทปที่สร้างขึ้น ขั้นตอนดังรูป
7. คลิก Browse... เลือกไฟล์ที่วางในโฟลเดอร์โปรเจคจากขั้นตอนข้อที่ 4
8. จะได้คอนโทรลมา 2 ตัวคือ LED 7 Segment แบบตัวเดียวและแบบหลายตัว
ทดสอบการใช้งาน
โดยให้แสดงเป็นตัวเลขที่นับขึ้นทุก ๆ 1/10 วินาที
9. ลากวาง LED 7 Segment แบบหลายตัวทำการกำหนดค่าการใช้งานซึ่งหลัก ๆ มีดังนี้
ArrayCount =6 //จำนวนหลักของตัวเลข
ElementWidth=10 //ความหนาของตัวเลข
ElementPadding=8 //ความห่างระหว่างตัวเลข
DecimalShow=False // ปิดการแสดงจุดทศนิยม
ColorBackground // สีพื้นหลัง
ColorDark // สีเซกเมนต์ที่ดับ
ColorLight // สีเซกเมนต์ติดสว่าง
10. วางคอนโทรล Timer ลงใน Form และกำหนดค่าใน Properties ดังนี้
-Enabled-->True เพื่อให้ไทเมอร์ทำงานทันทีเมื่อรันโปรแกรม
-Interval--->100 กำหนดช่วงเวลาการกระตุ้นเป็น 100 มิลลิวินาที (1/10 วินาที)
11. ดับเบิลคลิกที่ตัว Timer แล้วเขียนโค้ด
12. รันโปรแกรมเพื่อทดสอบการแสดงผล
การปรับตัวเลขให้เอียง
จะต้องปรับ 2 ค่าดังรูป
1. ปรับความเอียง ItalicFactor ให้มีค่า -0.1
2. ปรับจุดเริ่มต้นด้านซ้ายของตัวเลขในแต่ละตัว ElementPadding->Left ให้มีค่าเป็น 20
(หรือจะเป็นค่าอื่นก็ได้ตามชอบ แต่ค่าข้างต้นนี้เป็นค่าที่ให้การแสดงผลกำลังพอดี)
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 25, 2022, 11:22:05 AM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
Re: เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment]
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
กันยายน 20, 2018, 07:57:22 PM »
...
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
Re: เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment]
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
กันยายน 20, 2018, 07:57:34 PM »
...
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
เทคนิคการอินเตอร์เฟส Visual C#
»
เรียนรู้ครั้งที่ 8 [การเพิ่มคอนโทรลคอมโพแนนต์ 7 Segment]