ผู้เขียน หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 19 KiCAD [ออกแบบ PCB-2 (ฺBridge Regulator)]  (อ่าน 4892 ครั้ง)

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 706
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมออกแบบ KiCAD หากจำขั้นตอนการใช้งานยังไม่ได้ให้กลับไปศึกษาในงานครั้งที่ 8[V2] https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=409.0
งานครั้งนี้เมื่อทำเสร็จจะได้วงจรดังรูป


ขั้นตอนการดำเนินการ
1. โจทย์วงจรดังรูป ในการใช้งานจริงผู้ออกแบบต้องหาขนาดของอุปกรณ์ (FootPrint)แต่ละตัวให้ครบก่อนการออกแบบ


2. เขียนผังวงจรจะได้ดังรูป (ไดโอดบริดจ์ต้องเลือกชนิดที่ขา 1 เป็นขาบวกและขา 3 เป็นขาลบ ตามที่อุปกรณ์ที่ใช้จริง)


3. ส่งค่าไปยังโปรแกรมออกแบบ PCB จะได้ดังรูป


4. จัดวางอุปกรณ์ในตำแหน่งที่เหมาะสม  (วางในตำแหน่งที่ลายลายปริ้นง่ายมากที่สุด โดยสังเกตจากลาย net ไม่ให้ไขว้กันมากเกินไป) และกำหนดขนาด PCB ให้มีค่าเท่ากับ 1.0x1.5 นิ้ว


5. แนวทางการเดินลาย มีขั้นตอนคือ
  - เดินเส้นหลัง
  - เทพื้นในบริเวณที่กำหนด (Add Filled zones )


6. เมื่อให้แสดงผลการจัดวางแบบ 3 มิติ


ึ7. ดำเนินการ Plot ให้เป็นไฟล์ pdf เพื่อพร้อมที่จะทำ PCB ด้วยเทคนิค Toner transfer
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2022, 02:29:45 PM โดย admin »

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 706
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Re: งานครั้งที่ 9[V2] KiCAD [การใช้งานโปรแกรมออกแบบ PCB-2]
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2019, 11:45:35 AM »

กระบวนการเรียนรู้

บทบาทครู บทบาทนักศึกษา
อธิบายข้อปฏิบัติ และหลักการออกแบบ ฟังและจดบันทึกความเข้าใจ
ให้คำปรึกษาและคำแนะนำการออกแบบ (งานครั้งนี้ครูไม่ทำเป็นตัวอย่างโดยให้นักศึกษาออกแบบด้วยตนเอง) ดำเนินการออกแบบตามโจทย์ที่กำหนด หากมีข้อสงสัยให้ถามครูทันที

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 706
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Re: งานครั้งที่ 9[V2] KiCAD [ออกแบบ PCB-2 (ฺBridge Regulator)]
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2020, 10:14:47 PM »
..