กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 25 EasyEDA [ออกแบบ PCB-1 (เริ่มต้นใช้งาน)]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 25 EasyEDA [ออกแบบ PCB-1 (เริ่มต้นใช้งาน)] (อ่าน 39547 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
การเรียนรู้ครั้งที่ 25 EasyEDA [ออกแบบ PCB-1 (เริ่มต้นใช้งาน)]
«
เมื่อ:
มิถุนายน 17, 2022, 02:18:33 PM »
การใช้งานโปรแกรมออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วย EasyEDA [ออกแบบลายวงจรพิมพ์ครั้งที่ 1 (FullWaveReg.)]
EasyEDA เป็นเครื่องมือสำหรับงานด้าน Electronic Design Automation (EDA) ที่ใช้ออกแบบวงจรพิมพ์ PCB (สามารถจำลองวงจรได้ด้วย แต่งานที่โดดเด่นกว่าคือออกแบบลายวงจรพิมพ์) EasyEDA ทำงานแบบออนไลน์ นั่นก็หมายความว่าขณะที่ออกแบบนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโปรแกรมผ่านทางโปรแกรมเปิดดูเวปเช่น google chrome, Microsoft Edge หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้เปิดเวป และยังสามารถดาวน์โหลดตัวโปรแกรมใช้งานมาติดตั้งบนเครื่องเพื่อทำงานได้เช่นกัน
การใช้งาน โปรแกรม EasyEDA ดำเนินการดังนี้
1. เข้าเวปไซต์
https://easyeda.com
จะปรากฏดังรูป
2. สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัครใช้งาน ให้ดำเนินการสมัครโดยคลิกที่ Register
3. เริ่มเข้าใช้งานโดยคลิกที่ EasyEDA Designer
4. คลิกที่ Std Edition (สำหรับการใช้งานฟรี)
5. หน้าตาโปรแกรมที่ใช้งานผ่านโปรแกรมเปิดเวปไซต์
6. กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการโปรแกรมทำงานที่ไม่ใช่โปรแกรมเปิดดูเวป สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้โดยคลิกที่ Desktop Client
7. เปิดโปรแกรมมาจะมีหน้าตาเดียวกันกับตอนเปิดจากโปรแกรมเปิดเวป
-เริ่มการใช้งานโดยการสร้างโปรเจคงานใหม่ คลิกที่ New Project หรือคลิกที่เมนู File แล้วเลือก New Project
8. ตั้งชื่อโปรเจคงานในช่อง Title:
9. ตัวโปรแกรมจะสร้างไฟล์เอกสารสำหรับวาดวงจรดังรูป
10. อุปกรณ์สำหรับวาดวงจรโปรแกรมจัดให้มีอุปกรณ์พื้นฐานที่มักใช้บ่อยสามารถคลิกได้ที่เมนูด้านข้างชื่อ Commonly Library
11. แต่ละตัวโปรแกรมมีให้เลือกใช้หลากหลายตัวถัง ซึ่งสามารถคลิกเลือกใช้งานให้ตรงกับความต้องการได้
12. กรณีที่หาใน Commonly Library แล้วไม่มีสามารถคลิกที่ปุ่ม Library เพื่อค้นหาเพิ่มเติมได้
13. ตัวอย่างงานครั้งนี้เป็นวงจรเรียงกระแสแบบรรักษาระดับแรงดันด้วยไอซี
ขนาดตัวถังระยะห่างของตำแหน่งขาอุปกรณ์ (Foot Print) แต่ละตัวผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าจะใช้ตัวถังขนาดเท่าใดซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลจากเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์หรือดูจากดาต้าชีพ
14. เทอร์มินอลสำหรับต่อสายเข้าและออกวงจรเลือกใช้แบบ 2 ขา มีระยะห่างระหว่างจุดต่อ 5.00 mm
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=000500667
15. ไดโอดเลือกใช้ 1N4007 เนื่องจากมีขนาดเดียวกับ 1N4001 ของวงจร
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=002901662
16. ตัวเก็บประจุ 2200uF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=082500181
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง Diameter=13mm
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
17. ตัวเก็บประจุ 100nF
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=019800338
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) ดูรายละเอียดระยะของตัวถังให้ตรงตามวงจรกำหนดคือ ระยะขา Pitch=5.00mm ตัวถังกว้าง Width=2.5mm ยาว Length=7.2mm
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
18. ไอซี L7812
https://www.es.co.th/detail.asp?Prod=008304969
(1) คลิก Library
(2) ทำการค้นหาโดยใช้ข้อความค้นหาดังรูป
(3) คลิกที่ JLCPCB Assemmbled เนื่องจากค้นพบมากกว่า 999 รายการ
(4) หารายการที่มีคำว่า L7812 หากไม่เจอให้ดูเบอร์ใกล้เคียงที่มีรายละเอียดของตัวถังตามต้องการคือ TO-220-3
(5) ให้ดูว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีพร้อมทั้งสัญลักษณ์ (Symbol) และตัวถัง (Foot Print)
(6) คลิก place เพื่อวางอุปกรณ์
19. เมื่อวางครบจะเป็นดังรูป
20. คลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB ดังรูป เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตัวถัง
21. คลิก Apply
22. ตรวจสอบความถูกต้องของระยะห่างของขาอุปกรณ์แต่ละตัวและขนาดของตัวถัง หากต้องการดูว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีโมเดล 3 มิติหรือไม่ให้คลิกที่ 3D
23. ผลที่ได้ (กรณีอุปกรณ์ตัวใดไม่มีโมเดล 3 มิติสามารถเลือกอุปกรณ์ตัวใหม่ หรือค้นหาโมเดล 3 มิติตัวอื่นมาวางทับได้)
24. กรณีที่ต้องการเอาอุปกรณ์แต่ละตัวมาเก็บไว้เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานครั้งถัดไปโดยไม่ต้องไปค้นหาอีกสามาถทำได้โดยการ Clone ดังรูป
25. ตั้งชื่ออุปกรณ์ที่ Clone มา เพื่อให้แสดงในรายการของตนเอง (My Libraries)
26. เมื่อดูในไลบรารี่ของผู้ใช้งานจะเห็นรายการอุปกรณ์ที่ทำการ Clone เก็บเข้ามา
(1) คลิกที่ี Work Space
(2) คลิกที่ My Libraries->All จะเห็นรายการอุปกรณ์ (3)
27. ดำเนินการต่อวงจร
- ย้ายไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม
- เพิ่มอุปกรณ์ให้ครบ สามารถใช้การคัดลอกและวางอุปกรณ์ที่เหมือนกันที่เคยวางมาก่อนหน้านี้แล้ว
- วางกราวด์ เลือกจากปุ่มกราวด์ (1)
- ลากสายเชื่อมต่อวงจร เริ่มจากคลิกที่เครื่องมือเชื่อมต่อสายแล้วคลิกที่ขาอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน (2)
28. เมื่อต่อวงจรเสร็จ
ให้ทำการบันทึกไฟล์ (SAVE)
แล้วทำการคลิกที่ปุ่ม Convert Schematic to PCB
29. จะได้ไฟล์ที่มีอุปกรณ์ที่แสดงเป็นรูปตัวถัง (Foot Print) พร้อมสาย Net ที่แสดงว่าขาแต่ละอุปกรณ์มีการเชื่อมต่อตัวไหนบ้าง
30. ตั้งค่าหน่วยการแสดงผลและค่ากริดดังรูป
31. ดำเนินการดังนี้
- ทำการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม (ที่คิดว่าการเดินลายทองแดงไม่ยาก)
- วางรูยึด PCB
32. แก้ไขขนาดของรูยึด PCB
(1) แก้หน่วยวัดเป็น mm เนื่องจากรูยึด PCB จะมีขนาดรู 3.2 mm เพื่อใช้กับสกรู M3
(2) คลิกที่รูยึด PCB ที่ได้วางไว้
(3) แก้ไขรูยึด Hole(D) =3.2mm ดังรูป
33. ตั้งกฎการออกแบบ
34. ตั้งขนาดเส้นลายทองแดง 25mil และระยะชิดที่ 15mil (ต้องตั้งหน่วยวัดเป็น mil ก่อนดำเนินการ)
35. สั่งงานให้ออกแบบเดินลายอัตโนมัติ Auto Route...
36. แก้ไขให้ออกแบบลายเดินลายเฉพาะลายปริ้นด้านล่างเท่านั้น (กรณีที่ต้องการเฉพาะด้านล่าง)
37. ผลที่ได้
38. สามารถแก้ไขลายหากเดินลายอัตโนมัติไม่สวยงาม โดยลบเส้นลายเดิมออกแล้วเดินเส้นใหม่แทน ใช้เครื่องมือเดินเส้นลายทองแดงดังรูป
39. สามารถปิดการมองเห็นเลเยอร์แสดงตัวถังด้านบนเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ พร้อมตั้งค่ากริดและขนาดลายทองแดงให้เหมาะสมกับการเดินลายด้วยมือ
40. ผลของการปรับแต่ง
41. ถมลายให้มีขนาดลายทองแดงใหญ่ขึ้นในส่วนที่มีการแสไหลปริมาณมาก โดยใช้เครื่องมือเดินพื้นทึบ Solid Region แล้วเดินรอบเส้นที่ต้องการถมให้ใหญ่ขึ้น
42. ใส่ข้อความกำกับลงบนลายทองแดง
43. ผลที่ได้
44. ทดลองแสดงผล 3 มิติ
45. สร้างไฟล์ pdf เพื่อนำไปผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ต่อไป มีขั้นตอนดังรูป
46. เลือกเลเยอร์ที่เป็นลายทองแดงดังรูป
47. ผลของไฟล์ pdf พร้อมนำไปใช้งาน
กรณีที่ต้องารส่งไฟล์เข้าโรงงานผลิต (Gerber)
48. ทดสอบการแสดงผลของแผ่น PCB เมื่อส่งโรงงานว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ คลิกที่ 2D
49. ผลที่ได้ หากต้องการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขให้ดำเนินการ
50. สามารถทดสอบการเปลี่ยนสี PCB ว่าสีใดเหมาะสมก่อนสั่งผลิต
51. คลิกเมนูเพื่อสร้างไฟล์ Gerber ดังรูป
52. ขั้นตอนนี้โปรแกรมจะให้บันทึกไฟล์ Gerber เป็นไฟล์ zip ลงเครื่องหรือจะสั่งผลิตในเวปไซต์ที่ระบุ
- ให้ผู้ใช้เลือกที่บันทึกลงไดร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในโฟลเดอร์ที่เตรียมไว้
53. หาเวปไซต์ทดสอบไฟล์ Gerber
54. ส่งไฟล์ Gerber ที่บันทึกไว้ไปยังเวปไซต์แล้วดูผล (หากเกิดข้อผิดพลาดให้กลับไปแก้ไขในโปรแกรมออกแบบ)
55. คลิกดูลายวงจรด้านล่างว่าตรงตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2022, 02:31:17 PM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
Re: งานครั้งที่ 8[V3] EasyEDA [ออกแบบ PCB-1 (เริ่มต้นใช้งาน)]
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
มิถุนายน 17, 2022, 08:27:52 PM »
.....
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 25 EasyEDA [ออกแบบ PCB-1 (เริ่มต้นใช้งาน)]