กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 26 EasyEDA [ออกแบบ PCB-2 (Footprint)]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 26 EasyEDA [ออกแบบ PCB-2 (Footprint)] (อ่าน 2676 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
การเรียนรู้ครั้งที่ 26 EasyEDA [ออกแบบ PCB-2 (Footprint)]
«
เมื่อ:
มิถุนายน 20, 2022, 02:43:13 PM »
การออกแบบวงจรพิมพ์ (PCB) ผู้ออกแบบจะต้องรู้ขนาดของตัวอุปกรณ์ในแต่ละตัวก่อนการดำเนินการออกแบบเนื่องจากผังวงจรที่ใช้ในการออกแบบมีอุปกรณ์หลายชนิดที่จเป็นต้องรู้ขนาดก่อนซึ่งส่วนมากจะเป็นอุปกรณ์ที่มีค่าแต่ไม่มีเบอร์เช่นตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีเฉพาะค่าเพียงอย่างเดียวผู้ใช้งานจะต้องรู้ว่าเมื่อใช้งานจริงจะต้องใช้งานที่มีขนาดตัวถังเท่าใด (อุปกรณ์ที่มีเบอร์เวลาค้นหาจะได้ขนาดตัวถังมาด้วย) บทความนี้จะยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่โปรแกรม EasyEDA มีมาให้แล้วตัวอย่างเช่น
1. ตัวต้านทาน ในความเป็นจริงมีขนาดหลากหลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนวัตต์ของตัวนั้น ๆ จากรูปเป็นตัวต้านทานที่มีขา
2. ขนาดของตัวต้านทานเมื่อดัดขาพร้อมประกอบลงบนแผ่นวงจรพิมพ์จะมีชื่อตัวถังที่มีตัวเลขระบุในหน่วย inch เช่น Axial-0.4 หมายถึงระยะขาห่างกัน 0.4inch หรือ 400 mil
3. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีให้เลือกใช้ดังรูป
4. เมื่อวางแล้วทดสอบวัดระยะในหน่วย mil จะได้ดังรูป
5. ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรไลต์ (แบบมีขั้ว)
6. ขนาดของระยะระหว่างขา (F) จะมีหน่วยเป็น mm
7. เมื่อไปค้นหาในเวปไซต์จำหน่ายอุปกรณ์จะมีระบุขนาดให้ไว้แต่ขนาดที่ระบุจะมีหน่วยเป็น mm สามารถเอาค่าดังกล่าวมาใช้ออกแบบได้
8. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บประจุแบบมีขั้วให้เลือกใช้ โดยชื่อจะมีค่าระบุของขนาดตัวเส้นผ่าศูนย์กลางใช้อักษร D และขนาดระยะห่างระหว่างขาใช้อักษร F
9. เมื่อเอาไปใช้งานจริงระยะขาจะตรงกับค่าการวัดที่เป็น mil ดังรูป
10. ตัวต้านทานที่เป็น SMD
11. เบอร์ของตัวถังจะเป็นตัวบ่งบอกถึงขนาดโดยจะใช้หน่วยการวัดเป็น inch ดังรูป
12. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ตัวต้านทานที่เป็น SMD ดังรูป
13. ตัวเก็บประจุแบบ SMD
14. ขนาดของตัวเก็บประจุจะมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวต้านทาน SMD กล่าวคือเบอร์ตัวถังจะสอดคล้องกับขนาดตัวดังรูป
15. ในโปรแกรม EasyEDA จะมีอุปกรณ์ตัวเก็บประจุที่เป็น SMD ดังรูป
16. ตัวถังที่อยู่ในกลุ่มของทรานซิสเตอร์จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังรูป
17. ตัวถังที่อยู่ในกลุ่มของไดโอดบริดจ์จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังรูป
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2022, 04:11:52 PM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
Re: การเรียนรู้ครั้งที่ 26 EasyEDA [ออกแบบ PCB-2 (Footprint)]
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
มิถุนายน 20, 2022, 04:12:27 PM »
....
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 26 EasyEDA [ออกแบบ PCB-2 (Footprint)]