ผู้เขียน หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 27 EasyEDA [ออกแบบ PCB-3 (Bridge Rectifier)]  (อ่าน 3256 ครั้ง)

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 706
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
การค้นหาอุปกรณ์ก่อนการออกแบบ
   ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบผู้ออกแบบจะต้องสำรวจอุปกรณ์ก่อนการออกแบบมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง 2 อย่างหลัก ๆ คือ
- อุปกรณ์ในวงจรแต่ละตัวมีจำหน่ายหรือเปล่าเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการทำแผ่นวงจรพิมพ์เสร็จแล้วหาอุปกรณ์มาลงวงจรไม่ได้
- อุปรณ์แต่ละตัวที่สำรวจแล้วมีแผนที่จะจัดหามาใช้ในวงจรมีขนาดตัวถัง (Footprint) เป็นอย่างไร
การสำรวจในที่นี้จะดูจากเวปไซต์ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ www.es.co.th

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาอุปกรณ์ว่ามีขายหรือไม่ก่อนลงมือออกแบบ
1. ตัวอย่าง ออกแบบวงจรแหล่งจ่าย ดังรูป


2. เข้าเวปไซต์ www.es.co.th ค้นหาคอนเน็คเตอร์จุดต่อไฟเข้า/ออกวงจร ใช้ชื่อว่า Terminal Blocks วิธีการเข้าดังรูป


3. เลือกการกรองเป็น 2 ขาและขนาดระหว่างขา 5.0 mm


4. ดูว่าที่มีจำนวนในสต็อกมากสุด และดูว่าตัวที่ต้องการมีรูปร่างตามต้องการหรือไม่


5. ค้นหาไดโอดบริดจ์ เข้าดังรูป


6. เลือกเป็น 1.5A และเป็นแบบมีขาเสียบลง PCB


7. ดูจำนวนสต็อกสินค้าว่ามีมากพอที่จะสั่งซื้อหรือไม่


8. ค้นหาตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลต์


9. ระบุค่าต่าง ๆ ตามต้องการดังรูป


10. เลือกดูตัวที่ต้องการ และต้องมีสินค้าในสต็อกมากพอ


11. คลิกเข้าไปดูว่าขนาดของตัวถังเป็นเท่าใด


12. อุปกรณ์ที่มีเบอร์สามารพิมพ์ค้นหาได้ เช่นไอซี 7812 ดังรูป


13. เลือกดูเบอร์ตามต้องการ


14. ค้นหาตัวเก็บประจุแบบ Film


15. ใส่ค่าที่ต้องการค้นหา เช่น 0.1uF 63V แบบเสียบลง PCB ดังรูป


16. ดูรูปและจำนวนในสต็อก


ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบลายวงจรพิมพ์ด้วย EasyEDA
ผู้ออกแบบจะใช้วิธีการเข้าถึง EasyEDA ทางใดก็ได้ตามถนัดไม่ว่าจะเข้าด้วยบราวเซอร์หรือเปิดจากโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องผลการออกแบบมีค่าเดียวกัน

17. คลิก New Project


18. ตั้งชื่อโปรเจคไฟล์ตามต้องการ


19. ค้นหาอุปกรณ์โดคลิกที่ Library (ปุ่มด้านซ้าย) เลือกหาจาก LCSC Electronics ซึ่งเป็นเวปไซต์ขายอุปกรณ์ที่ผูกกับตัวโปรแกรมแต่เป็นเวปไซต์ที่อยู่ต่างประเทศอาจไม่สะดวกในการสั่งซื้อสำหรับผู้ออกแบบหลายท่าน ขั้นตอนนี้ค้นหาขั้วต่อไฟเข้า/ออก คลิกค้นหาดังรูป


20. เลือก Screw terminal และขนาดขา 5mm เมื่อพบอุปกรณ์ในรายการที่ต้องการให้คลิกวางได้เลย


21. จะปรากฏหน้าต่างดังรูป


22. ค้นหาไดโอดบริดจ์ 1.5A ดังรูป


23. เลื่อนหารูปร่างตัวถังที่ต้องการ ที่เป็นรูปร่างเดียวกันที่หาจากเวป www.es.co.th (เพราะเราจะสั่งมาประกอบจากเวปนี้)


24. ค้นหาตัวเก็บประจุอิเล็กโทรไลต์ขนาด 2200uF 25V ระยะขา 5mm ดังรูป


25. เมื่อกดวางจะปรากฏหน้าต่าง


26. ค้นหาไอซี 7812 โดยการพิมพ์ค้นหา เลือกตัวถัง TO-220 เมื่อเจออุปกรณ์ที่มีรูปร่างเดียวกับที่จะจัดหามากลงปริ้นให้กดวาง


27. จะปรากฏหน้าต่าง


28. ค้นหาตัวเก็บประจุ 100nF ดังรูป


29. เลื่อนหาอุปกรณ์ที่มีรูปร่างเดียวกับตัวที่ต้องการ


30. จะปรากฏหน้าต่างหลังจากการกดวาง


31. ให้คลิกสร้าง PCB เพื่อตรวจสอบตัวถังอุปกรณ์ที่เลือกไว้


32. วัดระยะของตัวถังว่าตรงตามต้องการหรือไม่


33. หากต้องการแสดงผล 3D เพื่อดูว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีโมเดลแสดงหรือไม่ให้คลิกที่ปุ่ม 3D


34. ในที่นี้จะเห็นว่าตัวเก็บประจุ 2200uF ไม่มีโมเดลแสดงผล


35. ทดลองกลับไปหาตัวเก็บประจุค่าเดียวกันในรายการอื่นแทน


36. ข้อสังเกตว่าอุปกรณ์ใดที่มีโมเดล 3D จะมีเส้นสีฟ้าปรากฏบนตัวถังดังรูป


37. คลิกบันทึกไฟล์ แล้วอัพเดต PCB ดูผล 3D อีกครั้ง


38. จัดวางอุปกรร์แต่ละตัวและวางกราวด์ตามตำแหน่งที่สะดวกในการลากสายเชื่อมต่อดังรูป


39. เชื่อต่อสายวงจรดังรูป


40. บันทึกไฟล์แลัวอัพเดต PCB


41. คลิก Apply Changes เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง


42. ตั้งค่าก่อนการออกแบบ


43. จัดวางอุปกรณ์ในตำแหน่งที่เหมาะสม (ควรให้ขาอุปกรณ์แต่ละตัวอยู่ตรงจุดตัดของกริด)


44. วางจุดยึดวงจรพร้อมกำหนดค่ารูให้มีขนาด 3.2mm เพื่อที่จะใช้กับสกรู M3 ได้ (ก่อนดำเนินการให้แก้เป็นหน่วย mm ก่อน)


45. ตั้งกฏหารออกแบบ


46. วงจรเป็นวงจรจ่ายกำลังให้ใช้ลายขนาด 25mil ระยะชิด 15mil (ก่อนดำเนินการให้แก้เป็นหน่วย mil ก่อน)


47. สั่งออกแบบอัตโนมัติ


48. กรณีต้องการออกแบบ PCB หน้าเดียวโดยให้มีลายทองแดงเฉพาะด้านล่างให้กำหนดดังรูป


49. ผลที่ได้


50. หากผลการออกแบบอัตโนมัติไม่ถูกใจสามารถคลิกที่ลายแล้วลบออกแล้วเดินใหม่ด้วยตนเองได้


51. ทำการถมลายโดยใช้เครื่องมือดังรูป


52. ผลของการถม (เว้นที่ไว้บ้างสำหรับวางข้อความ)


53. ใส่ข้อความลงบนลายวงจรหน้าลายทองแดง


54. ผลที่ได้


55. ทดลองดูภาพแบบ 3D ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่


56. กรณีที่ต้องการทำแผ่นวงจรพิมพ์ด้วยตนเองซึ่งอาจเป็นเทคนิค Toner Transfer จำเป็นต้องพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถสั่งให้ส่งออกเป็นไฟล์ pdf เพื่อใช้พิมพ์ได้มีขั้นตอนดังรุป


57. กำหนดเลเยอร์เฉพาะที่เป็นลายทองแดงเท่านั้นดังรูป


58. ผลที่ได้


59. สำหรับกรณีที่ต้องการส่งไฟล์ให้โรงงานผลิต PCB จำเป็นต้องเป็นไฟล์ Gerber สามารถดำเนินการได้ดังรูป


60. คลิกสร้างไฟล์


61. นำไฟล์ที่ได้ไปทดสอบดูผลจากเวปไซต์แสดงผลไฟล์ Gerber สามารถค้นหาเวปไซต์โดยใช้คำค้นหาว่า Gerber viewer และเมื่อส่งไฟล์จะแสดงผลด้านบนดังรูป


62. เมื่อคลิกดูด้านล่างจะได้ดังรูป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2022, 03:26:48 PM โดย admin »