กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
สมัครสมาชิก
.
ข่าว:
SMF - Just Installed!
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 29 EasyEDA [ออกแบบ PCB-5 (Transistor-Astable)]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: การเรียนรู้ครั้งที่ 29 EasyEDA [ออกแบบ PCB-5 (Transistor-Astable)] (อ่าน 2652 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 706
การเรียนรู้ครั้งที่ 29 EasyEDA [ออกแบบ PCB-5 (Transistor-Astable)]
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 01, 2022, 03:27:18 PM »
การออกแบบวงจรพิมพ์ในครั้งนี้เป็นการฝึกเพื่อเพิ่มความชำนาญในการใช้งาน EasyEDA ในการออกแบบ PCB อีกครั้ง หากจำขั้นตอนการใช้ให้กลับไปศึกษาการงานครั้งที่ 25, 26 ,27
ตอนที่ 1 เริ่มต้นใช้งาน
https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=420.0
ตอนที่ 2 Footprint
https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=421.0
ตอนที่ 3 การค้นหาอุปกรณ์
https://www.praphas.com/forum/index.php?topic=422.0
โจทย์การออกแบบ
- ออกแบบลายวงจรพิมพ์วงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์แบบที่ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขับ LED โดยให้มีขนาดของแผ่นลายวงจรพิมพ์ไม่เกิน 1.5 ตารางนิ้ว ตัวอย่างการคำนวณพื้นที่เป็นดังนี้
* ขนาด 1000x1000mil = 1 ตารางนี้ว
* ขนาด 1100x1100mil = 1.21 ตารางนี้ว
* ขนาด 1200x1200mil = 1.44 ตารางนี้ว
* ขนาด 1000x1500mil = 1.5 ตารางนี้ว
1. โจทย์การออกแบบในครั้งนี้เป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ดังรูป
วงจรประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
- ตัวต้านทานขนาด 1/4W
- ตัวเก็บประจุที่มีค่าเท่ากับ 100uF 16V เมื่อทำการตรวจสอบจากเวปไซต์ขายอะไหล่พบว่าตัวเก็บประจุค่านี้มีขนาดระยะขา 2.5mm ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
- LED มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3mm
- ทรานซิสเตอร์เบอร์ BC547
- ขั้วต่อไฟเลี้ยงใช้เป็นจุดต่อสายแทนการใช้ Terminal Block
2. คลิก New Project เพื่อสร้างโปรเจคไฟล์ใหม่
3. ตั้งชื่อโปรเจคไฟล์
ขั้นตอนการหาอุปกรณ์
4. เลือกตัวต้านทานขนาด AXIAL-0.4 เนื่องจากใช้ตัวต้านทานขนาด 1/4w
5. ผู้ออกแบบสามารถค้นหา LED จากเมนู Library ก็ได้ หรือจะใช้อุปกรณ์ที่โปรแกรมมีมาให้โดยเลือกที่เมนู Commonly Library (ตัวอย่างการออกแบบ EasyEDA ตอนที่ 4)
6. ค้นหาทรานซิสเตอร์ BC547 โดยดำเนินการดังรูป (สามารถเลือกรายการที่ Out of Stock ได้หากผู้ออกแบบทำการจัดหาทรานซิสเตอร์จากแหล่งอื่นในการประกอบวงจร)
7. การค้นหาอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บประจุทำได้ดังรูป ให้คลิกรายการฟิลเตอร์ตามค่าตัวเก็นประจุที่ต้องการ เช่น 100uF 16v ระยะขา 2.5mm เส้นผ่าศูนย์กลาง 6.3mm
8. ค้นหาจุดต่อที่เป็น WirePAD ดำเนินการดังรูป (เนื่องจากจุดต่อไม่ใช่อุปกรณ์จึงค้นหาจากเวปขายอุปกรณ์ไม่เจอ แต่มีผู้ออกแบบแชร์ให้ใช้งานโดยต้องคลิกที่ User Contributed)
9. กรณีที่ไม่ต้องการค้นหาตัวเก็นประจุจากเวปจำหน่าย สามารถเลือกใช้จากรายการอุปกรณ์ที่โปรแกรมมีให้ใช้งานโดยเลือกที่เมนู Commonly Library
10. วางอุปกรณ์ครบทุกตัว
11. ในงานครั้งนี้ตัวทรานซิสเตอร์จะต้องกลับด้าน สามารถทำได้ดังรูป (คลิกที่ตัวทรานซิสเตอร์ก่อน)
12. แก้ไขชื่อจุดต่อไฟเลี้ยงทำได้โดยการดับเบิลคลิกแล้วพิมพ์ชื่อใหม่
13. แก้ไขชื่อจุดต่อกราวด์
14. ลายสายไฟเชื่อมต่อวงจรจนครบสมบูรณ์
15. ทำการบันทึกไฟล์ แล้วคลิกปุ่มเพื่อสร้างไฟล์ PCB ดังรูป
16. ผลไฟล์ PCB ที่ได้
17. หากต้องการดูผลที่เป็น 3D สามารุทดสอบดูได้ว่าอุปกรณ์มีตัวใดที่ไม่มีโมเดล 3D หากผู้ใช้งานต้องการอุปกรณ์ที่มีโมเดล 3D สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีคือ
- ค้นหาอุปกรณ์ตัวใหม่เบอร์เดิมที่มีโมเดล 3D
- แก้ไขตัวอุปกรณ์ในหน้าต่าง PCB โดยคลิกที่รายการ 3D เพื่อค้นหาโมเดล 3D ที่เข้ากันได้
18. กำหนดขนาดเริ่มต้นการออกแบบ
19. ปรับขนาดขอบ PCB ให้ได้ตามโจทย์กำหนด
20. วางรูยึด PCB พร้อมแก้ไขขนาดรูให้ได้ 3.2mm เพื่อให้สามารถใช้สกรู M3 ในการยึด PCB ได้
21. ลากอุปกรณ์แต่ละตัววางในขอบเขตของ PCB ให้เหมาะสมตามต้องการ แล้วเดินลายทองแดงให้ครบ
22. คลิกที่ 2D เพื่อดูผลหากสั่งผลิต PCB จะเป็นลักษณะใด
23. คลิกที่ 3D เพื่อดูผลแบบ 3 มิติ เพื่อดูความเหมาะสมในการจัดวางอุปกรณ์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2022, 04:15:08 PM โดย admin
»
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
»
บทความประกอบการเรียนรู้
»
ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมฯ
»
การเรียนรู้ครั้งที่ 29 EasyEDA [ออกแบบ PCB-5 (Transistor-Astable)]