ในการเรียนรู้ของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาที่เกี่ยวข้อง วิชาที่ขาดไม่ได้วิชาหนึ่งคือวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ อันสังเกตุได้จากการประกวดแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับต่างๆซึ่งหัวใจของหุ่นยนต์คือไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน โดยวิชานี้ครูได้สอนมาหลายปีติดต่อกัน(ตั้งแต่เริ่มเปิดระดับ ปวส. เกือบ 20 ปีแล้ว..) มีความเข้าใจใจว่านักศึกษาจะต้องเรียนรู้อะไรบ้างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือ "เรียนไปเล่นไปกับไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51 ด้วยภาษา C"
เป็นการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน
ในหนังสือประกอบด้วย
บทที่ 0 อารัมภบทสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (Introduction to Computer)
บทที่ 1 ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller)
บทที่ 2 รีจิสเตอร์และหน่วยความจำ (Register and Memory)
บทที่ 3 ชุดคำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51 (Instruction Set)
บทที่ 4 การใช้งานวงจรไทเมอร์เคาน์เตอร์ (Timer/Counter)
บทที่ 5 การสื่อสารทางพอร์ตอนุกรม (Serial Port Communication)
บทที่ 6 การขัดจังหวะการทำงาน (Interrupt)
บทที่ 8 ภาษาซีสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ (C Language for Microcontroller)
บทที่ 9 การสร้างฟังก์ชั่นขึ้นใช้เอง
บทที่ 10 เครื่องมือช่วยพัฒนางานไมโครคอนโทรลเลอร์
บทที่ 11 การใช้งานพอร์ตเป็นพอร์ตเอาท์พุทพอร์ต
บทที่ 13 การเขียนโปรแกรมหน่วงเวลา
บทที่ 14 การสร้างความถี่เสียง
บทที่ 15 การแสดงผลด้วยหลอดแอลอีดีตัวเลข 7 ส่วน
บทที่ 16 การเชื่อมต่อกับสวิตช์เมตริก (Telephone Key)
บทที่ 17 การควบคุมดีซีมอเตอร์
บทที่ 18 การขับสเต็ปเปอร์มอเตอร์
บทที่ 19 การควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor)
บทที่ 20 การเขียนโปรแกรมสื่อสารทางพอร์ตอนุกรม
บทที่ 21 การแสดงผลด้วยจอผลึกเหลว (LCD)
**ยังไม่มีจำหน่าย โดยใช้ในประกอบการเรียนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ เพียงเท่านั้น