ในการทำแผ่นวงจรพิมพ์(แผ่นปริ้น) มีวิธีการหลากหลายแบบที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะทำสกรีน การตัดสติกเกอร์ การวาดด้วยหมึก แต่วิธีที่สะดวกและได้คุณภาพของแผ่นวงจรพิมพ์ที่ได้มีคุณภาพสูง(พอสมควร) คือการทำแผ่นวงจรพิมพ์ด้วยเทคนิคไดร์ฟิล์ม( Dry Film) สิ่งที่สำคัญของการทำไดร์ฟิล์มอย่างหนึ่งคือ ต้นแบบ ซึ่งต้องเป็นแบบที่เป็นเนกกาทีฟ คือ ส่วนที่เป็นลายทองแดงจะต้องโปร่งใส แต่ส่วนที่เป็นพื้นปริ้นต้องทึบแสง
ในการทำต้นแบบที่เป็นเนกกาทีฟสามารถทำได้ทุกโปรแกรมที่สามารถเซตค่าสีของวัตถุได้ โดยหลักการคือ สร้างฉากหลังแล้วเซตฉากให้เป็นสีดำแล้วเซตสีของวัตถุให้เป็นสีขาว โดยการพิมพ์สีขาวเป็นสีของเนื่อกระดาษ ดังนั้นเมื่อพิมพ์ลงแผ่นใสส่วนที่เป็นสีขาวก็จะโปร่งใสเอง ตัวอย่างเช่นการใช้โปรแกรม Visio สร้างรูป (เป็นโปรแกรมที่สามารถเซตค่าสีของวัตถุได้) โดยขั้นตอนเป็นดังนี้
1. สร้างฉากหลัง
2. ส่งฉากไปด้านหลัง
3. จะได้
4.เซตสีฉากหลังให้เป็นสีดำ
5.เซตสีของตัวงานให้เป็นสีขาว จะได้งานที่เป็นเนกกาทีฟแล้ว (ง่ายไหมครับ)
ในการทำต้นแบบเนกกาทีฟที่เป็น PCB ที่ใช้โปรแกรมออกแบบลายวงจรพิมพ์ก็สามารถทำได้เช่นกัน ในที่นี้ของแนะนำการทำต้นแบบเนกกาทีฟด้วยโปรแกรม Protel99SE มีขั้นตอนดังนี้
1.ออกแบบลายวงจรให้เสร็จตามต้อง
2.สร้างฉากหลังโดยเลือกใช้เลเยอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน ในที่นี้เลือกใช้ KeepOutLayer แล้วสร้างฉากหลังโดยการกด P เลือก Fill ดังรูป
3. ลากครอบบริเวณลายวงจร
4. กดปุ่มเครื่องพิมพ์จะได้ดังรูป
5. คลิกขวาที่ Multilayer เลือก Properties ดังรูป
6. เซตค่าต่างๆดังรูป
-เลือกแสดงรูโดนัท
-เลือกแสดงเป็นสีระดับเทา
-ขยับขึ้นลงเอาเข้าเอาออกของเลเยอร์ที่ใช้งาน โดยจะต้องเรียงบนลงล่างดังนี้
1. บนสุดเป็น MultiLayer ซึ่งเป็นโดนัทเพื่อไม่ลายวงจรมาทับรู
2. ลายวงจรในที่นี้ใช้ BottomLayer
3. ฉากหลังในที่นี้ใช้ KeepOutLayer
7. คลิกเมนู Tool เลือก Preferencesเพื่อกำหนดสีของแต่ละเลเยอร์
8. เลือกเลเยอร์ลายทองแดงแล้วเซตให้เป็นสีขาว
9. เลือกเลเยอร์ฉากหลังแล้วเซตเป็สีดำ
10.เลือกเลเยอร์รูโดนัท (PadHoleLayer,ViaHoleLayer) เซตเป็นสีดำ
11.ผลที่ได้จะได้ต้นแบบเนกกาทีฟดังรูป
โปรดติดตามบทความอื่นๆต่อไป
ครูประภาส สุวรรณเพชร