โปรแกรม Proteus เป็นโปรแกรมที่มีสิ่งที่โดดเด่นคือการจำลองการทำงานของวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะที่โดดเด่นไม่แพ้โปรแกรมอื่นคือการออกแบบลายปริ้นท์ ซึ่งในบางครั้งอุปกรณ์ที่ให้มาที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้นั้นไม่มี เราสามารถสร้างใช้งานเองได้ บทความนี้ขอนำเสนอการสร้างอุปกรณ์เพื่อใช้ในการออกแบบลายวงจรพิมพ์ (ออกแบบปริ้นท์)
ยกตัวอย่างเช่นต้องการออกแบบลายปริ้นที่ใช้ไอซีรักษาระดับแรงดันคงที่แบบสวิตชิ่งเบอร์ LM2576 ดังรูป
การสร้างอุปกรณ์เพื่อใช้ในการวาดวงจร (SCH) ใช้โปรแกรมวาดวงจร ISIS ของ Proteus (โปรแกรมในส่วนที่เราใช้วาดวงจรเพื่อจำลองการทำงานนั่นแหละ) ซึ่งเครื่องมือในการสร้างตัวอุปกรณ์มี 2 อย่างคือ
1. สร้างตัวถัง ดังรูป
2. สร้างขาอุปกรณ์
1. สร้างไฟล์ไลบารีที่ต้องการโดยเข้าเมนู Library--> Library Manager
2. คลิก Create Library
3. ตั้งชื่อไฟล์ไลบารี่ที่ต้องการ (ในที่นี้ใช้ชื่อ Praphas)
4. วาดตัวถังโดยใช้เครื่องมือวาดตัวถัง
5. ใส่ขาอุปกรณ์
6. กำหนดชื่อและหมายเลขของแต่ละขา ทำได้โดยการดับเบิลคลิกที่ขาที่ต้องการกำหนดแล้วใส่ค่าตามที่ต้องการดังรูป
7. ในกรณีที่ขาใดที่มีขีดบาร์ด้านบนให้ใช้ $ ปิดหน้า/หลังของชื่อ เช่นในตัวอย่างต้องการขีดบนตรงคำว่า ON ให้ใส่ว่า $ON$
8. จัดเรียงตำแหน่งให้เหมาะสม (ไม่ให้ชื่อขาเกิดการทับซ้อนกัน)
9. คอมไพล์ไลบารี่ (เลือกชื่อไลบารี่ที่ต้องการคอมไพล์)
10. ลากครอบตัวอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น คลิก Make Device
11. ใส่ชื่ออุปกรณ์ที่ต้องการให้แสดงและ ตัวลำดับอุปกรณ์
12. ในกรณีที่ไม่มีตัวถังขั้นตอนนี้ให้ข้ามไปก่อน (ไปสร้างก่อนค่อยกลับมาเพิ่มเข้าไปได้) แต่หากในโปรแกรมสามารถใช้ตัวถังอื่น ๆ ที่โปรแกรมมีอยู่แล้วให้กดปุ่ม Add/Edit เพื่อเลือกตัวถังนั้น ๆ
13. ในกรณีที่ไม่มีไฟล์จำลองการทำงาน...ขั้นตอนนี้ให้ข้ามไป (ไฟล์จำลองการทำงานเป็นไฟล์ DLL ที่เป็นตัวจัดการเมื่อมีการจำลองการทำงานของวงจร)
14. ที่อยู่ของดาต้าชีตถ้าไม่มีให้ข้ามไป
15. เลือกไลบารี่ที่จะเก็บอุปกรณ์ในที่นี้เลือกไลบารี่ Praphas ที่สร้างไว้ตอนต้น ส่วนช่องด้านซ้ายให้เลือกรายการที่จะให้อุปกรณ์ตัวนี้อยู่ในรายการใด
16. เสร็จกระบวนการสร้าง SCH Library จะปรากฏชื่ออุปกรณ์ในรายการด้านซ้าย
17. เมื่อทำการเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งาน อุปกรณ์ที่เราสร้างจะปรากฏในรายการ ที่มีรายละเอียดตามที่เราได้กำหนดไว้ในตอนสร้าง (แต่ยังไม่มี PCB Package)
18. เมื่อดับเบิลคลิกที่ตัวอุปกรณ์จะไม่มีรายการกำหนดค่าใด ๆ เนื่องจากอุปกรณ์ที่เราสร้างไม่มีไฟล์จำลองการทำงาน และเราไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ในขั้นตอนที่ 13
19. ในโฟลเดอร์ LIBRARY จะมีไฟล์ไลบารี่ที่เราสร้าง (คัดลอกเก็บไว้เพื่อเอาไปใช้ในเครื่องอื่นได้)
20. เปิดดาต้าชีตเพื่อดูขนาดของอุปกรณ์
ในกรณีที่ต้องการสร้างภาพ 3 มิติ ในที่นี้จะใช้โปรแกรม SketchUp ในการสร้างโมเดล (จะทำหรือไม่ทำก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานต้องการภาพ 3 มิติหรือไม่ หากไม่ต้องการสร้างให้ข้ามขั้นตอนการสร้างภาพ 3 มิตินี้) การสร้างตัวถัง 3 มิติโดยกำหนดคำสั่งในตัวโปรแกรม Proteus สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง (สร้างได้เพียงบางรูปทรง) ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป
21. สร้างตัวถัง 3 มิติ โดยใช้โปรแกรม SketchUp (รายละเอียดของการใช้โปรแกรมให้ผู้ใช้ศึกษาเองนะครับ) ขั้นตอนดังรูป
22. Export ไฟล์เพื่อนำไปใช้ในโปรแกรม Proteus
23. ตั้งชื่อไฟล์โดยบันทึกลงในโฟล์เดอร์ LIBRARY ของโปรแกรม Proteus เลือกสกุลเป็น 3DS ก่อนบันทึกให้คลิกที่ปุ่ม Option
24. ตั้งค่าออปชั่นต่าง ๆ ตามรูป
25. กลับมาสร้างตัวถังโดยใช้โปรแกรมออกแบบลายปริ้นของโปรแกรม Proteus (ARES) คลิกที่เมนู Library->Library Manager แล้วคลิกที่ปุ่ม Create Library
26. ตั้งชื่อไฟล์ ในที่นี้ใช้ชื่อ PraphasPCB
27. สร้างตัวถังอุปกรณ์โดยใช้ขนาดจริงตามดาต้าชีต โดยเส้นกรอบตัวถังใช้เส้นขีดซึ่งใช้เลเยอร์ Top Silk และตัวจุดขาใช้ Pad ตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งระยะห่างระหว่างขาต้องถูกต้องตามดาต้าชีต
28. ใส่หมายเลขจุดต่อโดยดับเบิลคลิกที่ Pad แล้วทำการใส่เลขในช่อง Number
29. เมื่อใส่ครบจะได้ดังรูป
30. ลากครอบแล้วคลิกขวาเลือก Make Package
31. เลือกไลบารี่ที่ต้องการเก็บตัวถังที่สร้างขึ้นนี้
-ใส่ชื่อตัวถัง
-เลือกแคตตาล๊อกที่อยู่ของตัวถัง
-เลือกประเภทของขาอุปกรณ์
-เลือกแคตตาล๊อกย่อย
-ใส่รายละเอียดของตัวถัง
การดำเนินการในส่วนนี้ เพื่อจัดให้ตัวถังนี้เข้าสู่ในหมวดหมู่ของโปรแกรม
32. คลิกที่แท็ป 3D Visualization พิมพ์ข้อความลงในรายการดังรูป (จะเห็นว่าตำแหน่งของตัวถังกับตำแหน่งของโมเดลยังไม่ตรงกัน)
33. ปรับตำแหน่ง X,Y ให้ตัวโมเดลกับตัวถังอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน (กะเอาโดยดูจากรูปที่พรีวิว)
ลองสร้างพื้นปริ้นแล้วแสดงผล 3 มิติจะได้
แต่ไม่มีขา ซึ่งถ้าต้องการให้มีขาอุปกรณ์ต้องสร้างขาอุปกรณ์ในขั้นตอนการสร้างโมเดล 3 มิติจากโปรแกรม SketchUp
34. กลับมาที่โปรแกรมวาดวงจรเพื่อจำลองการทำงาน (ISIS) เรียกอุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นออกมา LM2576
35. วางอุปกรณ์ในพื้นที่ใช้งานแล้วคลิกขวาที่ตัวอุปกรณ์ แล้วเลือก Packaging Tool
36. คลิกปุ่ม Add
37. ไปหาตัวถังที่เราสร้างขึ้นในขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้วคลิก OK
38. ตัวถังจะปรากฏในช่องพรีวิว แล้วคลิกที่ปุ่ม Assign Package(s)
39. เลือกไลบารี่ที่ต้องการ Package
40. คลิก Yes
41. ลองกลับไปเลือกอุปกรณ์ใหม่ LM2576 จะปรากฏตัวถังในช่อง PCB Preview
42. ไฟล์ไลบารีทั้งหมดที่สร้างขึ้น สามารถคัดลอกนำไปใช้งานในเครื่องอื่นได้
โปรดติดตามบทความอื่น ๆ ในตอนต่อ ๆ ไป
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
ครูประภาส สุวรรณเพชร