^Back To Top
Get Adobe Flash player

ทดลอง MCU ตอนที่ 2 (ISP Circuit)

 

การทดลองวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์(เมื่อต่อวงจรจริงจากตอนที่ 1) จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเอารหัสคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องลงตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ (ของใช้คำว่าการโปรแกรม) ซึ่งเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือ ใช้เครื่องโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหากใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ขึ้นต้นด้วย AT89S... ก็จะสามารถใช้วิธีการโปรแกรมตัวเองโดยที่ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ยังอยู่ในระบบที่เรียกว่า ISP ( In System Programming)

 

วงจรโปรแกรมตัวเองที่อยู่ในระบบ ISP

เป็นการต่อสายสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตเครื่องพิมพ์ (ที่เรียกว่าสาย STK200) โดยใช้สายสัญญาณ 4 เส้น (ทิศทางของข้อมูลดังลูกศร)


ในทางปฏิบัติควรใช้ตัวต้านทานอนุกรมที่สายสัญญาณโดยใช้ค่าประมาณ 100-470 โอห์มเพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดขึ้นกับพอร์ตเครื่องพิมพ์หากเกิดข้อผิดพลาด สามารถต่อไว้ในขั้วต่อสายได้ ดังรูป

การบัดกรีต้องใส่ท่อหดที่ตัวต้านทานกันการลัดวงจรดังรูป

และสายที่ใช้ในการเชื่อมต่อไม่ควรยาวเกิน 50 เซนติเมตร (การโปรแกรมอาจล้มเหลวได้) สายเชื่อมต่อใช้เพียง 5 เส้นโดยสามารถใช้สายแลนได้ดังรูป

รายการอุปกรณ์ (ลิงค์สั่งซื้อ) ดูได้งานหน้างานที่มอบหมาย คลิก

โปรแกรมที่ใช้ร่วมกับสายคือโปรแกรม ISP Flash Programmer 3.0a
(คลิกเพื่อดาวน์โหลด)

ขั้ตอนการทดสอบการใช้งาน

-เลือกเบอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ให้ตรงกับวงจรที่ใช้งาน (1)

-กดปุ่ม Read (4)

ถามผลเกิดดังรูปแสดงว่าติดต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้

ถามผลเกิดดังรูปแสดงว่าติดต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ไม่ได้

แก้ไขโดยการตรวจสอบจุดต่างๆดังรูป

1. ใช้มิเตอร์วัดไฟเลี้ยงโดยวัดที่ซอกเก็ตไอซี (ถอดไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ออกก่อน) ให้ได้เท่ากับ 5 โวลต์หรือใกล้เคียง ถ้าไม่ได้ให้แก้ไข
2. ใช้มิเตอร์วัดแรงดันที่ขารีเซตโดยเมื่อกดสวิตช์ต้องได้เท่ากับ 5 โวลต์หรือใกล้เคียง และเมื่อปล่อยมือจะต้องได้เท่ากับ 0 โวลต์ ถ้าไม่ได้ให้แก้ไข
3. ใช้มิเตอร์วัดแรงดันที่ขา EA ต้องได้เท่ากับ 5 โวลต์หรือใกล้เคียง ถ้าไม่ได้ให้แก้ไข
4. ตรวจดูขาคริสตอลถูกต้องหรือไม่
5. จุดต่อสาย ISP  ถูกต้องหรือไม่
6. เลือกเบอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ถูกต้องหรือไม่

ขั้นตอนการโปรแกรม

1.เลือกเบอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ ให้ตรงกับบอร์ดที่ใช้งาน

2.เปิดไฟล์ภาษาเครื่องที่ต้องการโปรแกรมจากปุ่ม Open File

3.โปรแกรมไฟล์ภาษาเครื่องลงตัวไมโครคอนโทรลเลอร์จากปุ่ม Write

 

โปรดติดตามบทความอื่นๆในตอนต่อไป
ครูประภาส สุวรรณเพชร

 

Copyright © 2024 www.praphas.com. All Rights Reserved.
Joomla! is Free Software released under the GNU General Public License.