ปัจจุบันการสร้างต้นแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบวงจรขึ้นมาใหม่หรือการใช้ต้นแบบที่ได้รับการออกแบบมาแล้วมีหลายวิธีการ สำหรับวงจรที่ออกแบบขึ้นมาใหม่นักอิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของวงจร จำนวนอุปกรณ์ ชนิดของอุปกรณ์เป็นต้น ตัวอย่างเช่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจำนวนอุปกรณ์ไม่มากนักและใช้อุปกรณ์ประเภทขาเสียบลงแผ่นวงจรพิมพ์สามารถใช้วิธีการประกอบวงจรลงบนแผ่นวงจรพิมพ์เอนกประสงค์ได้ แต่ถ้าอุปกรณ์ที่ใช้มีจำนวนมากหรือเป็นอุปกรณ์ผิวหน้า (SMD: surface-mount device) จะไม่สามารถประกอบลงแผ่นวงจรพิมพ์เอนกประสงค์ได้ ดังนั้นการสร้างวงจรพิมพ์ขึ้นมาใหม่จากการออกแบบลายวงจรพิมพ์โดยใช้คอมพิวเตอร์จะเป็นทางออกทางเดียวที่นำมาใช้งาน
เอกสารเล่มนี้ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ที่สอนนักศึกษาเป็นเวลากว่า 20 ปี ได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาเทคนิควิธีการมาโดยตลอด ซึ่งเป็นการนำเสนอวิธีการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์จากโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบลายวงจรพิมพ์โดยเฉพาะ ที่ได้รับความนิยมของนักอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ตลอดจนการสร้างแผ่นวงจรพิมพ์ขึ้นใช้งานเองและการสั่งทำแผ่นวงจรพิมพ์จำนวนมากจากบริษัทที่รับผลิตในเชิงอุตสาหกรรม เนื่อหาในเอกสารประกอบด้วย
บทที่ 1 ข้อกำหนดในการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์
บทที่ 2 การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ด้วยโปรแกรม Sprint-Layout
บทที่ 3 การสร้างอุปกรณ์ใหม่เพื่อใช้ในโปรแกรม Sprint-Layout
บทที่ 4 คัดลอกลายปริ้นด้วยโปรแกรม Sprint-Layout
บทที่ 5 การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์โดยไม่เขียนผังวงจรด้วยโปรแกรม Eagle
บทที่ 6 การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์โดยเขียนผังวงจร ด้วยโปรแกรม Eagle
บทที่ 7 การสร้างอุปกรณ์ใหม่เพื่อใช้ในโปรแกรม Eagle
บทที่ 8 การแก้ไขงานด้วยโปรแกรม Altium
บทที่ 9 การทำต้นแบบเนกกาทีฟ
บทที่ 10 การสร้าง Gerber file
บทที่ 11 การสั่งผลิตแผ่นวงจรพิมพ์จากบริษัทผู้รับผลิต
บทที่ 12 การทำแผ่นวงจรพิมพ์ด้วยตนเอง
สงวนลิขสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อจำหน่าย © โดยครูประภาส สุวรรณเพชร
ไม่สงวนสิทธิ์สำหรับการพิมพ์เพื่อเป็นวิทยาทาน
สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.mediafire.com/file/cl7w1pdx65av7iv/PCB-design.pdf